กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว

36_20150217161511.การกระตุ้นการท่องเที่ยวเป็นภารกิจสำคัญที่จะต้องอาศัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มที่เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศให้มากที่สุด การท่องเที่ยวก็เหมือนการขายสินค้า ถ้าโฆษณาดี สินค้าดี ก็สามารถจะกระตุ้นให้คนมาซื้อได้ สินค้าดีในที่นี้หมายถึงแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว การบริการ ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย จะต้องได้รับความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยว จึงจะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ตามเป้า การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะมีนักท่องเที่ยวนักลงทุนเดินทางเข้าออกประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย ขึ้นอยู่กับความพร้อมของประเทศไทยมีมากน้อยแค่ไหน ทั้งเรื่องของสายการบิน สนามบิน การอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง การเดินทางระหว่างเมือง ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว เรื่องของภาษาการสื่อสาร เป็นต้น วึ่งรัฐบาลต้องทำการบ้านวางแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศใหม่ทั้งระบบ

การวางรากฐานการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน มีเป้าหมาย สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในปี 60 และเป็นแหล่งกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนสังคมไทยและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และสร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วนดำเนินกิจกรรมการพัฒนาโดยคำนึงถึงความสมดุลและยั่งยืนของการพัฒนา ซึ่งจะต้องกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวคุณภาพให้ได้ตามเป้าหมาย พัฒนาสินค้าและบริการการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและชุมชน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวมุ่งเน้นการทำงานเชิงบูรณาการเชื่อมโยงระดับชาติ ภูมิภาค และท้องถิ่น

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวในทุกระดับรวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และผลักดัน การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การบูรณาการ และบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันตามมาตรฐานระดับสากล การผลักดันงานด้านการท่องเที่ยวของประเทศยังขาดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ และยังขาดแนวทางในการแก้ไขปัญหา รัฐบาลปัจจุบันได้มีนโยบายในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิรูปที่เน้นให้มีการปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐในทุกระดับทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับท้องถิ่น โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปอย่างแท้จริง

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกับการค้นหาข้อมูลทางเว็บไซต์


จะเห็นได้ว่าเว็บไซต์เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเข้าถึงและซื้อขายสินค้าและได้โดยตรง ดังนั้น ผู้จัดหาบริการการท่องเที่ยว, ผู้จัดหาระบบเทคโนโลยี เช่น GDSs และตัวกลางทางการท่องเที่ยว เช่น บริษัทท่องเที่ยวแบบขายปลีก และ OTAs จึงสร้างการออนไลน์ในรูปแบบของเว็บไซต์ที่ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง และการแข่งขันการขายสินค้าและบริการแก่ลูกค้า แต่ละบริษัทท่องเที่ยวจะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง และมีการใช้เทคนิคการขายที่พิเศษเพื่อชักจูงลูกค้าให้ซื้อสินค้าและบริการ เนื่องจากการแข่งขันขายสินค้าและให้บริการมีจำนวนมาก วิธีที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าที่มีศักยภาพในการกรองข้อมูลสินค้าและบริการเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดตามความต้องการของพวกเขาคือ การใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) เช่น Google, Yahoo, Bing ทางอินเตอร์เน็ต

เครื่องมือค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการกลั่นกรองข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งเห็นได้จากปริมาณการค้นหาข้อมูลที่เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ต่อปี โดยผู้เยี่ยมชมจะใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ในการอ่านข้อมูล การจัดอันดับตำแหน่งของการเข้าชมเว็บไซต์ ดังนั้นบริษัทท่องเที่ยวสามารถใช้เทคนิคในการทำให้เว็บไซต์ของตนติดอันดับเว็บไซต์ที่ถูกแสดงจากการค้นหาเป็นอันดับต้นๆ ในเครื่องมือค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต จำนวน 2 วิธี คือ การพัฒนาเว็บไซต์ (Search Engine Optimisation – SEO) และ การซื้อพื้นที่โฆษณาในเว็บไซต์ของเครื่องมือค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต (Paid Search)

การทำ SEO จะเน้นการจัดการโครงสร้างและเนื้อหาของเว็บไซต์ เพื่อที่จะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับต้นๆ ในหน้าแสดงผลการค้นหาในเว็บไซต์ที่เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตภายใต้เงื่อนไขของผู้บริโภค เครื่องมือค้นหาข้อมูลจะใช้ซอฟท์แวร์เฉพาะที่เรียกว่า แมงมุมในการขยายข้อมูลและควบคุมเว็บไซต์ โดยแยกประเภทหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเรียกค้นหาในเครื่องมือค้นหาข้อมูลตามวิธีการคำนวณข้อมูลเฉพาะ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การแข่งขันเพื่อครอบครองพื้นที่แสดงข้อมูลนั้นต้องยกให้กับบริษัทท่องเที่ยวออนไลน์ ที่มีพื้นที่มากที่สุด โดยจะเห็นได้จากผลแสดงการค้นหาข้อมูลที่มากที่สุดในทุกสินค้าและบริการการท่องเที่ยว การครอบครองพื้นที่ดังกล่าวนำมาซึ่งจุดเด่นที่แตกต่างกัน 2 ประการคือ 1) งบการตลาดที่มีมูลค่าสูง ซึ่งทำให้ OTAs แจ้งราคาที่สูงขึ้นแก่ผู้จัดหาสินค้าและบริการการท่องเที่ยว และ 2) ความรู้ทางเทคนิคที่เหนือกว่าทำให้บริษัทเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากระบบ SEO ได้มากกว่า  OTAs เน้นวิธีให้ความสำคัญกับการค้นหาข้อมูลในการดึงดูดลูกค้า และยังรวมการค้นหาข้อมูลนี้เข้ากับระบบความสามารถหลักขององค์กรธุรกิจของพวกเขา ดังนั้น บริษัทเหล่านี้จึงปรากฏอยู่ชัดเจนในรายการแสดงผลการค้นหา ซึ่งทำให้การควบคุมการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการการท่องเที่ยวบนเว็บไซต์ไม่ท้าทายนัก